ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ซึ่งเป็นตำแหน่งและวิทยฐานะที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567
1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 23 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้
รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาคอมพิวเตอร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาคอมพิวเตอร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาคอมพิวเตอร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรมส่งเสริมหลักสูตร
หลักสูตรต้านทุจริต 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
อ่านเขียนเรียนสนุก 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ลูกเสือ เนตรนารี จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
ชุมนุม จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
แนะแนว จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์
PLC
จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
การสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
งานบริหารวิชาการ
เวรประจำวัน
1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรมเสริมสร้างทักษะอาชีพ
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2568
2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย
ในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การปรับประยุกต์ การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)
1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
จากการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดบางปรัง ปีการศึกษา 2567 ภาคเรียนที่ 1 พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน วัดบางปรังยังขาดทักษะการคิดเชิงคำนวณ ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการจัดการปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยนักเรียนส่วนใหญ่มักพึ่งพาการท่องจำเนื้อหามากกว่าการคิดวิเคราะห์หรือคิดอย่างมีเหตุผล นอกจากนี้ การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันยังขาดการเชื่อมโยงความรู้กับการปฏิบัติจริง ทำให้นักเรียนไม่คุ้นเคยกับการคิดแก้ปัญหาในรูปแบบที่เน้นการลงมือทำ อีกทั้งยังมีข้อจำกัดด้านการใช้เทคโนโลยีภายในโรงเรียน ซึ่งอาจขาดแคลนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครื่องมือที่ทันสมัย ส่งผลให้การเรียนรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมที่ต้องใช้เทคโนโลยีเป็นไปได้ยาก
เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว การจัดการเรียนรู้ในครั้งนี้จะเน้นการออกแบบกิจกรรม Unplugged Coding โดยจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดเชิงคำนวณ ผ่านการเรียนรู้จากการเล่นเกมและการลงมือปฏิบัติจริง กิจกรรมดังกล่าวจะไม่ต้องพึ่งพาเครื่องมือเทคโนโลยี แต่จะใช้สื่อการเรียนการสอนที่สามารถทำได้ง่ายภายในห้องเรียน ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการคิดเชิงคำนวณผ่านการทำกิจกรรมที่สนุกสนานและเหมาะสมกับวัย นอกจากนี้ การจัดการเรียนรู้จะบูรณาการทักษะย่อยที่สำคัญ ได้แก่ 1) การแยกย่อยปัญหา (Decomposition) ซึ่งเป็นการฝึกให้นักเรียนสามารถแบ่งปัญหาใหญ่ให้เป็นส่วนย่อยที่จัดการได้ง่าย 2) การหาแบบรูป (Pattern Recognition) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ปัญหาและเชื่อมโยงแนวคิดได้ 3) การคิดเชิงตรรกะ (Logical Thinking) ผ่านการเรียงลำดับเหตุการณ์หรือวางแผนการทำงาน 4) การออกแบบขั้นตอนแก้ปัญหา (Algorithmic Thinking) โดยให้นักเรียนฝึกเขียนหรือจัดลำดับขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบ กระบวนการเรียนรู้จะใช้วิธีการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Active Learning) โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดและลงมือทำ ผ่านการทำงานกลุ่ม การเรียนรู้จากปัญหา (Problem-Based Learning) และการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งจะช่วยพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและการทำงานร่วมกับผู้อื่น นอกจากนี้ การประเมินผลการเรียนรู้จะเน้นการสังเกตพฤติกรรม การสะท้อนความคิด (Reflection) และการทำแบบฝึกหัดที่เน้นกระบวนการคิดเป็นหลัก
2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
2.1 วิเคราะห์มาตรฐานการเรียน ตัวชี้วัดของเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดบางปรัง ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2567
2.2 ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้แสงและวัสดุ เรื่อง วัสดุและการใช้ประโยชน์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) ด้วยกิจกรรม Unplugged Coding
2.3 เปิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ร่วมกับครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาในการจัดกิจกรรม แบบสังเกตพฤติกรรม และใบกิจกรรม พร้อมทั้งเสนอแนะ และสะท้อนผลการจัดกิจกรรมเพื่อนำมาปรับปรุง แก้ไข
2.4 ครูผู้สอนปรับปรุง แก้ไขเนื้อหาในการจัดกิจกรรม แบบสังเกตพฤติกรรม และใบกิจกรรม ตามคำแนะนำ
2.5 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง วัสดุและการใช้ประโยชน์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) ด้วยกิจกรรม Unplugged Coding กับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยมี 4 แผนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้
1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 การดูดซับน้ำของวัสดุ
2) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 การนำวัสดุมาผสมกัน
3) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เปรียบเทียบสมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุ
4) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 ประโยชน์ของการใช้วัสดุ
2.6 บันทึกผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
2.7 สำรวจความพึงพอใจของผู้เรียนในการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
3. ผลลัพธ์การพัฒนา
3.1 เชิงปริมาณ
(อยู่ระหว่างดำเนินการ)
3.2 เชิงคุณภาพ
(อยู่ระหว่างดำเนินการ)
ภาพกิจกรรม / ผลงานนักเรียน
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เปรียบเทียบสมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุ
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 ประโยชน์ของการใช้วัสดุ
แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน